ไขควง (Screwdriver)
ไขควง เป็นเครื่องมือช่างพื้นฐานที่เราสามารถพบเจอได้ทั่วไป ใช้สำหรับการขันนอต และสกรู ที่ด้ามจับจะมีฉนวนหุ้มเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน โดยขนาด และรูปทรงของไขควงจะถูกออกแบบตามลักษณะการใช้งาน
ส่วนประกอบของไขควง
ไขควงประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน ได้แก่ ด้ามไขควง (Handle) ก้านไขควง (Blade / Ferule) และปากไขควง (Tip)
-
ด้ามไขควง (Handle)
ถูกออกแบบให้มีรูปทรงที่สามารถจับได้อย่างถนัดมือ การบิดไขควงไปมาสามารถทำโดยใช้แรงได้มากสุด โดยส่วนใหญ่แล้วด้ามของไขควงจะทำจากวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น ไม้ พลาสติก หรืออาจทำจากโลหะบางชนิด ก็ตามแต่ลักษณะการใช้งานครับ
-
ปากไขควง (Blade / Ferule)
ทำจากเหล็กกล้าเกรดดี อาจจะเป็นทรงกลมหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัสก็ได้ โดยเหล็กกล้าเหล่านี้จะถูกนำไปตีขึ้นรูปให้ลาดแบน และชุบแข็งด้วยความร้อน ในส่วนที่ไม่ได้ตีขึ้นรูป ก็จะกลายเป็นก้านไขควง
-
ก้านไขควง (Tip)
สำหรับไขควงที่เป็นก้านกลม จะใช้สำหรับงานเบา ส่วนไขควงที่เป็นก้านเหลี่ยม ก็จะใช้สำหรับงานหนัก เพราะก้านที่เป็นเหลี่ยมของมันจะสามารถใช้ประแจหรือคีมจับเพื่อเพิ่มแรงบิดของงานได้นั่นเอง
ประเภทของไขควง
-
ไขควงปากแบน (Common Screwdriver)
มีลักษณะปากของแบนลาดเอียงไปยังส่วนปลาย ก้านของไขควงทำด้วยเหล็กและอบคืนตัว ส่วนปลายจองไขควงใช้ไขสกรูหรือคลายสกรูผ่าตรง โดยด้านขนานของปลายไขควงต้องสวมพอดีกับร่องของหัวสกรู
-
ไขควงปากแฉก (Cross – Reset Head Screwdriver)
มีลักษณะปากของไขควงเอียงไปยังส่วนปลายแต่เป็นร่องแฉก ก้านของไขควงทำด้วยเหล็กชุบแข็งและอุบคืนตัว ส่วนปลายของไขควงใช้ไขสกรูหรือคลายสกรูหัวร่องแฉก โดยปลายของไขควงที่เป็นร่องแฉกต้องสวมพอดีกับร่องของหัวสกรู
นอกจากไขควงทั้ง 2 ประเภทนี้แล้ว ยังมีไขควงอีกหลากหลายประเภท ที่เป็นที่รู้จักกันเฉพาะในวงการช่าง เช่น
- ไขควงปากบล็อก คือ ไขควงชนิดนี้มีลักษณะปากที่เป็นบล็อกหกเหลี่ยม ใช้สำหรับสกรูที่มีร่องเป็นหกเหลี่ยม
- ไขควงหัวคลัตช์ คือ ไขควงที่ใช้เฉพาะสำหรับงานที่เป็นโลหะแผ่น และงานตบแต่งที่ต้องการความประณีตสวยงาม
- ไขควงเยื้องศูนย์ หรือ ไขควงออฟเสท คือ ไขควงที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับงานที่ไขควงปากแบนและไขควงปากแฉกใช้งานไม่ได้ เช่น ตามซอกมุมต่างๆ ไขควงชนิดนี้จะมีปากไขควงอยู่ที่ปลายก้านไขควงทั้งสองด้าน และก้านไขควงที่อยู่ตรงกลางทำหน้าที่เป็นด้ามไขควงด้วย แต่การใช้งานไขควงประเภทนี้จะต้องระวังหน่อยนะครับ เพราะไขควงประเภทนี้จะหลุดออกจากสกรูได้ง่าย และทำให้สกรูเสียหายได้
ข้อควรระวัง
ไขควงก็เหมือนกับเครื่องมือช่างอื่นๆ หากใช้งานไม่ถูกวิธีก็เป็นอันตรายได้ เพราะฉะนั้นข้อควรระวังในการใช้ไขควงคือ
- ตรวจสอบปลายของไขควงว่ามีลักษณะตรงกับชนิดของร่อง และมีขนาดพอดีกีบร่องของหัวสกรูที่จะทำการไขหรือคลายสกรู
- ห้ามใช้ไขควงตอกหรือสกัด
- ห้ามใช้ไขควงทั่วไปตรวจสอบวงจรไฟฟ้า
- ห้ามใช้ไขควงที่ปากบิ่นหรือปากสึกหรอ
- ห้ามใช้ไขควงที่ด้ามหลวมหรือด้ามแตก
- อย่าจับชิ้นงานในมือขณะใช้ไขสกรู เพราะหากพลาดจะเป็นอันตรายต่อมือผู้ปฏิบัติงานได้